นโยบาย บริหารความเสี่ยง
นโยบาย บริหารความเสี่ยง
นโยบาย บริหารความเสี่ยง
ภายใต้การดําเนินธุรกิจที่มีความผันผวน สลับซับซ้อนและการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง บริษัทฯ มีความจําเป็นที่ต้องนําระบบการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพมาใช้ในองค์กร เพื่อเป็นเครื่องมือประกอบการกําหนดทิศทางในการวางกลยุทธ์ การสร้างศักยภาพ การเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ รวมทั้งการปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง อันจะเป็นการสนับสนุนให้บริษัทฯ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในภาพรวม มีการกํากับดูแลกิจการที่ดี และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยกําหนดให้การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร ในการปฏิบัติงาน และให้พนักงานทุกคนในทุกระดับ ตระหนักถึงหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริหารความเสี่ยงร่วมกัน
ความเสี่ยง หมายถึง “เหตุการณ์ที่ไม่แน่นอนต่าง ๆ ซึ่งหากเกิดขึ้นแล้วส่งผลกระทบเชิงลบต่อการดําเนินงาน ทําให้ TSTE และกลุ่มบริษัทในเครือ ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนด”
การบริหารความเสี่ยง หมายถึง “กระบวนการในการระบุ ประเมิน และบริหารจัดการ ความเสี่ยง ให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ ตามกรอบการบริหารความเสี่ยงที่กําหนดขึ้น”
- เพื่อนําระบบการบริหารความเสี่ยงที่เป็นมาตรฐานสากลมาปฏิบัติใช้ในแนวทางเดียวกันทั่วทั้งองค์กร และกําหนดให้การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจ การกําหนดกลยุทธ์ แผนงาน และการดําเนินงานของ TSTE และกลุ่มบริษัทในเครือ
- เพื่อกําหนดมาตรการ และแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เหลืออยู่ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ขององค์กร โดยพิจารณามาตรการที่จะลดโอกาส และหรือ ผลกระทบจากความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างมี ประสิทธิภาพ อันจะเป็นการผลักดันให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรที่กําหนดไว้ ทั้งในระดับองค์กรและในระดับหน่วยงาน
- เพื่อสามารถระบุความเสี่ยงหรือวิกฤตการณ์ที่ไม่คาดคิด และสามารถตอบสนองการลดความสูญเสีย หรือ ความเสียหายต่อองค์กรได้อย่างเหมาะสมและทันกาล
- เพื่อให้คณะผู้บริหาร คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และคณะกรรมการบริษัท ได้รับทราบข้อมูลความเสี่ยงทีสําคัญ แนวโน้มของความเสี่ยง และความเสี่ยงในภาพรวม ตลอดจนกํากับดูแลความเสี่ยงของ TSTE และกลุ่มบริษัทในเครือได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
- เพื่อให้ทุกส่วนงานมีหน้าที่ระบุ ประเมิน และบริหารจัดการความเสี่ยงทีสําคัญๆอย่างสม่ำเสมอ รวมถึง ในกรณีที่มีเหตุการณ์ กิจกรรม กระบวนการ และหรือโครงการที่สําคัญหรือยังไม่เคยปฏิบัติ หรือการเปลี่ยนแปลงที่มีสาระสําคัญภายในองค์กร โดยคํานึงถึงระดับความเสี่ยงทียอมรับได้ และความสามารถในการปฏิบัติได้จริงด้วย ต้นทุนที่เหมาะสม
- เพื่อให้มีการสื่อสาร และถ่ายทอดความรู้การบริหารความเสี่ยงให้พนักงานอย่างสม่ำเสมอ และพัฒนาพนักงานให้มีความเข้าใจ มีความตระหนักการเป็นเจ้าของความเสี่ยง ตลอดจนมีการบริหารความเสี่ยงร่วมกันภายใต้งานที่รับผิดชอบ
- เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถตรวจพบและลดความเสี่ยงที่เกิดจากการกระทําผิดหรือการทุจริต โดยจัดทําให้มีการประเมินความเสี่ยงเรื่องการทุจริตในด้านต่างๆ ขององค์กรและพร้อมทั้งสนับสนุนให้องค์กรมีการจัดทํานโยบายป้องกันการกระทําผิดและการทุจริต
ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) คือ ระดับความเสี่ยงสูงสุดที่ TSTE ยอมรับได้ในระดับองค์กร กําหนดขึ้นโดยฝายบริหารภายใต้การกํากับดูแลของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และให้ใช้ประกอบการประเมิน และบริหารความเสี่ยง โดยความเสี่ยงใดก็ตามที่ได้รับการวิเคราะห์และประเมินแล้วพบว่า อาจส่งผลกระทบต่อ TSTE เกินกว่าระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ให้หน่วยงานเจ้าของความเสี่ยงนั้น ๆ จัดทําแผนปฏิบัติงานบริหารความเสี่ยง และรายงานต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง โดยแบ่งระดับความเสี่ยง ที่ยอมรับได้ออกได้เป็น 6 ด้าน ดังนี้
1. ระดับความเสี่ยงทียอมรับได้ด้านการเงิน
- ยอมรับให้มีการสูญเสียเงิน หรือการลดลงของรายได้ในระดับหนึ่ง แต่ไม่เกินกว่าระดับที่ส่งผลกระทบอย่างเป็นสาระสําคัญต่อสภาพคล่องหรือฐานะทางการเงินของ TSTE
2. ระดับความเสียงทียอมรับได้ด้านชือเสียง
- ยอมรับข่าวสารในเชิงลบในสื่อที่มีช่องทางการสื่อสารอย่างแพร่หลาย แต่ไม่ยอมรับข่าวสารในเชิงลบที่ส่งผลกระทบอย่างเป็นสาระและต่อเนื่องจนเกิดความเสียหายด้านชื่อเสียงแก่สาธารณชนและความเชื่อมั่นในองค์กรจากผู้มีส่วนได้เสีย โดยเฉพาะคู่ค้าที่สําคัญและผู้ถือหุ้น
3. ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ด้านการปฎิบัติงานทั่วไป
- ยอมรับให้มีการหยุดชะงักหรือความล่าช้าในความต่อเนื่องในด้านการบริการได้ในระดับหนึ่ง แต่ไม่ยอมรับให้เกิดการหยุดชะงักหรือความล่าช้าทีเป็นเวลานานจนก่อให้เกิดความเสียหายที่เป็นผลกระทบต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน ซึงส่งผลต่อระดับความเชื่อมั่นและระดับความพึงพอใจ ของลูกค้า ตลอดจนภาระผูกพันที่บริษัทมีต่อคู่ค้า